ข้อมูลเทศบาล
ประวัติความเป็นมา
เทศบาลตำบลนายาง เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่น ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจาก สุขาภิบาลนายางเป็น "เทศบาลตำบลนายาง" โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 9ก วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 มีผลทำให้เปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาล เป็นเทศบาล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2542 โดยมีนางสาวนิตยา พรสมบูรณ์ศิริ ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี เป็นคนแรก
|
ความหมายของตราเทศบาล
ชื่อที่อยู่วงกลมภายนอก
ดวงตรากำหนดเป็นรูปวงกลม มีรัศมีผ่านศูนย์กลางกว้าง 5 ซม.
มีชื่อ "เทศบาลตำบลนายางจังหวัดเพชรบุรี" อยู่วงกลมด้านนอก
เดิมใช้คำว่า สุขาภิบาลนายาง จังหวัดเพชรบุรี
บริเวณในภายในวงกลมด้านใน
ตอนกลางวงกลมด้านในมีรูป
** ต้นยาง เป็นพันธ์ุไม้ในอดีตที่มีมากในบริเวณนี้
** ทุ่งนา ในบริเวณนี้ อดีตมีการทำนาเป็นอาชีพหลัก
** ภูเขาในบริเวณนี้ มีภูเขาที่สำคัญคือ เขาไม้นวล เขานายาง เเละ เขาน้ำตก
วิสัยทัศน์และพันธกิจวิสัยทัศน์การพัฒนา “เทศบาลตำบลนายางเป็นเมืองน่าอยู่ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข”
คำขวัญ พื้นที่ 3 ตำบล คนจิตใจงาม เกษตรกรรมสวนผสม ชมถ้ำค้างคาวยามเย็น สวยเด่นสำนักงาน
พันธกิจ 1. พัฒนาเมืองให้น่าอยู่ จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี 2. พัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต ตลอดจนส่งเสริมการศึกษา กีฬา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี 3. พัฒนาด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ตลอดจนส่งเสริมด้านการเกษตร 4. ส่งเสริมการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5. พัฒนากระบวนการบริหารจัดการที่ดีในองค์กรและการมีส่วนร่วมของประชาชน |
|
สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศ
ที่ตั้ง เทศบาลตำบลนายาง ตั้งอยู่เลขที่ 444 หมู่ที่ 2 ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีพื้นที่อยู่ในเขตการปกครองประมาณ 188.88 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาใหญ่ , ตำบลดอนขุนห้วย , และตำบลนายาง มีทั้งหมด 27 หมู่บ้าน 28 ชุมชน อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองศาลา อำเภอชะอำ และอำเภอท่ายาง ทิศใต้ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองชะอำ ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตอำเภอท่ายาง จำนวนประชากร ประชากรตามสถิติทะเบียนราษฎร ณ 30 เดือนกันยายน 2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 19.097 คน แบ่งเป็น ชาย 9,143 คน หญิง 9,740 คน ความหนาแน่นของประชากร ประมาณ 99.97 คนต่อตารางกิโลเมตร ลักษณะการใช้ที่ดิน ตำบลเขาใหญ่ ตำบลเขาใหญ่ มีสภาพพื้นที่เป็นแอ่งกระทะบางส่วนเป็นที่ราบ บางส่วนเป็นที่ดอน ตำบลดอนขุนห้วย ตำบลดอนขุนห้วยมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบภูเขา ตำบลนายาง การใช้ที่ดินของตำบลนายาง ในที่ดอนจะเป็นที่อยู่อาศัย สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ และไม้ผล ไม้ยืนต้น ที่ราบใช้ทำนา และไร่นาสวนผสม ส่วนที่ลุ่มใช้ทำนาเพียงอย่างเดียว |
การเมืองการปกครองเขตการปกครอง เทศบาลตำบลนายาง มีเขตการปกครองทั้งหมด 3 ตำบล 27 หมู่บ้าน 28 ชุมชน ดังนี้ 1. ตำบลเขาใหญ่ จำนวน 11 หมู่บ้าน 12 ชุมชน 2. ตำบลนายาง จำนวน 9 หมู่บ้าน 9 ชุมชน 3. ตำบลดอนขุนห้วย จำนวน 7 หมู่บ้าน 7 ชุมชน พื้นที่ เทศบาลตำบลนายาง มีพื้นที่ ประมาณ 188.88 ตารางกิโลเมตร อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองศาลา อำเภอชะอำ และอำเภอท่ายาง ทิศใต้ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองชะอำ ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตอำเภอท่ายาง |
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมด้านเศรษฐกิจ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนายาง ส่วนใหญ่มีฐานะปานกลาง ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม เป็นหลัก รองลงมาคือรับจ้าง การค้า และการบริการ 1. การเกษตรกรรม 2. การพาณิชยกรรม 2.1 สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม - สถานีบริการน้ำมัน จำนวน 6 แห่ง - ตลาดสด จำนวน 1 แห่ง - ร้านค้าทั่วไป จำนวน 126 แห่ง - สหกรณ์ (เครดิตยูเนี่ยน) จำนวน 2 แห่ง - อื่น ๆ (บ้านเช่า อู่ซ่อมรถ ตัดผม เสริมสวย ต้นไม้ ของเก่า ร้านอาหาร) จำนวน 147 แห่ง ที่มา : กองคลัง เทศบาลตำบลนายาง (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2557) 2.2 สถานประกอบการด้านบริการ - โรงแรม จำนวน 4 แห่ง ที่มา : กองคลัง เทศบาลตำบลนายาง (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2557) 2.3 การอุตสาหกรรม - โรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตดำเนินการ จำนวน 38 แห่ง ประกอบด้วย ตำบลเขาใหญ่ จำนวน 23 แห่ง ตำบลนายาง จำนวน 7 แห่ง ตำบลดอนขุนห้วย จำนวน 8 แห่ง 3. การท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่ - ถ้ำค้างคาวนายาง อยู่บริเวณหมู่ที่ 2 ต.นายาง - ถ้ำเขาพระนาขวาง (ถ้ำพระนอน) มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ หมู่ที่ 2 ต.นายาง - เจดีย์ทุ่งเศรษฐี หมู่ที่ 6 ต.นายาง - ถ้ำเขาตาจีน หมู่ที่ 7 ต.นายาง 4. การปศุสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยหรือ ครัวเรือน แบ่งได้ดังนี้ 5. การประมงและสัตว์น้ำ ด้านสังคม ชุมชน (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2556) เทศบาลตำบลนายาง มีทั้งหมด 27 หมู่บ้าน 28 ชุมชน จำนวน 5,991 ครัวเรือน 1. ตำบลเขาใหญ่ จำนวน 11 หมู่บ้าน 12 ชุมชน 2. ตำบลนายาง จำนวน 9 หมู่บ้าน 9 ชุมชน 3. ตำบลดอนขุนห้วย จำนวน 7 หมู่บ้าน 7 ชุมชน |
สภาพทางการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมการศึกษา - โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 10 โรงเรียน - โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1 โรงเรียน - วิทยาลัยระดับอาชีวศึกษา จำนวน 1 วิทยาลัย - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 10 ศูนย์ ศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลตำบลนายางนับถือศาสนาพุทธ วัฒนธรรม - ประเพณีที่สำคัญของเทศบาล ได้แก่ 1. ประเพณีสงกรานต์ เดือนเมษายนของทุกปี มีกิจกรรมสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ การขอพรผู้ใหญ่ การจัดขบวนแห่ของชุมชน การก่อพระเจดีย์ทราย การละเล่นพื้นบ้าน และการแสดงมหรสพต่าง ๆ ฯลฯ 2. ประเพณีที่เกี่ยวกับวันสำคัญทางศาสนา มีกิจกรรมที่สำคัญ คือ การทำบุญ ตักบาตร การเวียนเทียน การหล่อเทียนจำนำพรรษา ปลูกต้นไม้ เป็นต้น
|
การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติการคมนาคม การเดินทางส่วนใหญ่อาศัยรถยนต์ ทางเท้า ซึ่งการคมนาคมจะสะดวกสบาย สามารถเชื่อมต่อได้ ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน โดยมีถนนเพชรเกษมเป็นถนนสายหลัก การประปา เทศบาลตำบลนายาง มีการประปา 2 ระบบ มีผู้ใช้น้ำทั้งสิ้น 3,535 ราย ดังนี้ 1. การประปาของเทศบาลตำบลนายาง มีผู้ใช้น้ำ จำนวน 2,459 ราย 1.1 ตำบลเขาใหญ่ จำนวน 2,131 ราย 1.2 ตำบลนายาง จำนวน 133 ราย 1.3 ตำบลดอนขุนห้วย จำนวน 195 ราย ที่มา : กองการประปา เทศบาลตำบลนายาง (ข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2557) 2. การประปาส่วนภูมิภาค โดยสำนักงานประปาเพชรบุรี มีผู้ใช้น้ำ จำนวน 1,076 ราย 2.1 ตำบลเขาใหญ่ จำนวน 288 ราย 2.2 ตำบลนายาง จำนวน 469 ราย 2.3 ตำบลดอนขุนห้วย จำนวน 323 ราย ที่มา : การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเพชรบุรี (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2556) ไฟฟ้า ปัจจุบันการดำเนินการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนายาง อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอชะอำ โดยประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขต เทศบาลตำบลนายางมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน การสื่อสาร 1. โทรศัพท์ ในเขตเทศบาลจะประกอบด้วย โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์สาธารณะ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2. ไปรษณีย์ เทศบาลไม่มีที่ทำการไปรษณีย์ จะใช้บริการจากที่ทำการไปรษณีย์ อำเภอชะอำ 3. ระบบเสียงตามสายแบบไร้สาย/หอกระจายข่าว การสาธารณสุข - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 5 โรงพยาบาล - อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน 294 คน การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย - สถิติเพลิงไหม้ส่วนใหญ่เกิดจากเหตุเพลิงไหม้ทั่วไป เช่น ไหม้หญ้าในช่วงหน้าแล้ง - อุปกรณ์ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประกอบด้วย 1. รถยนต์ดับเพลิง จำนวน 1 คัน แยกเป็น (ความจุน้ำ) - จุน้ำได้ 5,000 ลิตร 2. รถบรรทุกน้ำ จำนวน 4 คัน แยกเป็น (ความจุน้ำ) - จุน้ำได้ 10,000 ลิตร จำนวน 1 คัน - จุน้ำได้ 12,000 ลิตร จำนวน 1 คัน - จุน้ำได้ 5,000 ลิตร จำนวน 2 คัน 3. รถยนต์กู้ภัยเล็ก จำนวน 1 คัน 4. รถยนต์ตรวจการณ์ จำนวน 1 คัน 5. พนักงานดับเพลิง จำนวน 14 คน - มีการจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต่าง ๆ - การเตรียมพร้อมคอยเหตุ 24 ชั่วโมง - มีอัตรากำลัง อปพร. ที่พร้อมจะช่วยเหลือการปฏิบัติงาน ขยะ 1) รถยนต์ที่ใช้กำจัดขยะ รวม 4 คัน แยกเป็น - แบบอัดท้าย จำนวน 3 คัน - แบบเปิดข้างเทท้าย จำนวน 1 คัน 2) ขยะที่เก็บได้ ประมาณ 10 ตัน/วัน 3) ขยะที่กำจัดใช้ วิธีฝังกลบโดยใช้ร่วมกับสถานที่กำจัดขยะ โดยวิธีฝังกลบ ของเทศบาลเมืองชะอำ ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ 1. ภูมิอากาศ - อากาศโดยทั่วไปไม่หนาวหรือร้อนจัด อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 28 องศาเซลเซียส 2. แหล่งน้ำ - อ่างเก็บน้ำ ได้แก่ 1.อ่างเก็บน้ำโป่งทะลุ หมู่ 5 ต.ดอนขุนห้วย ความจุ 0.81 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ 2,600 ไร่ 2.อ่างเก็บน้ำหุบกะพง หมู่ 10 ต.เขาใหญ่ ความจุ 0.26 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ 3,500 ไร่ 3.อ่างเก็บน้ำห้วยทราย-หุบกะพง หมู่ 10 ต.เขาใหญ่ ความจุ 0.7 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ 1,000 ไร่ 4.อ่างเก็บน้ำอ่างแก้ว หมู่ 8 ต.เขาใหญ่ - ฝายทดน้ำ จำนวน 1 แห่ง คือฝายทดน้ำดอนขุนห้วย หมู่ 5 ต.ดอนขุนห้วย ความจุ 0.25 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ 1,000 ไร่
|