เทศบาลตำบลนายาง เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่น ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลนายางเป็น "เทศบาลตำบลนายาง"
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 9ก วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 มีผลทำให้เปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาล
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2542 โดยมีนางสาวนิตยา พรสมบูรณ์ศิริ ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี เป็นคนแรก
ชื่อที่อยู่วงกลมภายนอก
ดวงตรากำหนดเป็นรูปวงกลม มีรัศมีผ่านศูนย์กลางกว้าง 5 ซม.
มีชื่อ "เทศบาลตำบลนายางจังหวัดเพชรบุรี" อยู่วงกลมด้านนอก
เดิมใช้คำว่า สุขาภิบาลนายาง จังหวัดเพชรบุรี
บริเวณในภายในวงกลมด้านใน
ตอนกลางวงกลมด้านในมีรูป
** ต้นยาง เป็นพันธ์ุไม้ในอดีตที่มีมากในบริเวณนี้
** ทุ่งนา ในบริเวณนี้ อดีตมีการทำนาเป็นอาชีพหลัก
** ภูเขาในบริเวณนี้ มีภูเขาที่สำคัญคือ เขาไม้นวล เขานายาง เเละ เขาน้ำตก
วิสัยทัศน์การพัฒนา
“เทศบาลตำบลนายางเป็นเมืองน่าอยู่ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข”
คำขวัญ
พื้นที่ 3 ตำบล คนจิตใจงาม
เกษตรกรรมสวนผสม ชมถ้ำค้างคาวยามเย็น
สวยเด่นสำนักงาน
พันธกิจ
1. พัฒนาเมืองให้น่าอยู่ จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี
2. พัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต ตลอดจนส่งเสริมการศึกษา กีฬา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี
3. พัฒนาด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ตลอดจนส่งเสริมด้านการเกษตร
4. ส่งเสริมการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. พัฒนากระบวนการบริหารจัดการที่ดีในองค์กรและการมีส่วนร่วมของประชาชน
ข้อมูลหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนผู้ชาย | จำนวนผู้หญิง | รวมประชากร |
ตำบลดอนขุนห้วย | 1,657 ครัวเรือน | 2,506 คน | 2,635 คน | 5,141 คน |
หมู่ที่ 1 บ้านสระพระพัฒนา | 246 ครัวเรือน | 226 คน | 239 คน | 465 คน |
หมู่ที่ 2 บ้านร่องระกำ | 198 ครัวเรือน | 357 คน | 383 คน | 740 คน |
หมู่ที่ 3 บ้านหนองเผาถ่าน | 409 ครัวเรือน | 584 คน | 608 คน | 1,192 คน |
หมู่ที่ 4 บ้านหัวเกาะ | 122 ครัวเรือน | 207 คน | 188 คน | 395 คน |
หมู่ที่ 5 บ้านดอนขนุนห้วย | 407 ครัวเรือน | 712 คน | 739 คน | 1,451 คน |
หมู่ที่ 6 ชุมชนบ้านใหม่พัฒนา | 188 ครัวเรือน | 296 คน | 313 คน | 609 คน |
หมู่ที่ 7 ชุมชนบ้านวังยาว 2 | 117 ครัวเรือน | 124 คน | 165 คน | 289 คน |
ตำบลเขาใหญ่ | 3,781 ครัวเรือน | 4,781 คน | 5,105 คน | 9,886 คน |
หมู่ที่ 1 ชุมชนบ้านตลาดใหม่ | 147 ครัวเรือน | 223 คน | 228 คน | 451 คน |
หมู่ที่ 2 ชุมชนบ้านเขาไม้นวล | 385 ครัวเรือน | 336 คน | 355 คน | 691 คน |
หมู่ที่ 3 ชุมชนบ้านนิคมพัฒนา | 464 ครัวเรือน | 418 คน | 479 คน | 897 คน |
หมู่ที่ 4 ชุมชนบ้านห้วยหิน | 283 ครัวเรือน | 453 คน | 467 คน | 920 คน |
หมู่ที่ 5 ชุมชนบ้านไร่เนิน | 238 ครัวเรือน | 337 คน | 363 คน | 700 คน |
หมู่ที่ 6 ชุมชนบ้านเขาใหญ่ | 372 ครัวเรือน | 346 คน | 377 คน | 723 คน |
หมู่ที่ 7 ชุมชนบ้านหนองยาว | 455 ครัวเรือน | 520 คน | 612 คน | 1,132 คน |
หมู่ที่ 8 ชุมชนบ้านหุบกระพง 1 | 548 ครัวเรือน | 847 คน | 877 คน | 1,724 คน |
หมู่ที่ 8 ชุมชนบ้านหุบกระพงเขาโป่ง | 0 ครัวเรือน | 0 คน | 0 คน | 0 คน |
หมู่ที่ 9 ชุมชนบ้านไร่บน | 296 ครัวเรือน | 255 คน | 277 คน | 532 คน |
หมู่ที่ 10 ชุมชนบ้านหุบกระพง | 312 ครัวเรือน | 649 คน | 682 คน | 1,331 คน |
หมู่ที่ 11 ชุมชนบ้านหนองจันทร์พัฒนา | 281 ครัวเรือน | 397 คน | 388 คน | 785 คน |
ตำบลนายาง | 1,216 ครัวเรือน | 1,814 คน | 1,970 คน | 3,784 คน |
หมู่ที่ 1 ชุมชนบ้านบ่อ | 56 ครัวเรือน | 65 คน | 82 คน | 147 คน |
หมู่ที่ 2 ชุมชนบ้านนายาง 2 | 136 ครัวเรือน | 194 คน | 205 คน | 399 คน |
หมู่ที่ 3 ชุมชนบ้านนายาง 3 | 196 ครัวเรือน | 254 คน | 273 คน | 527 คน |
หมู่ที่ 4 ชุมชนบ้านนายาง 4 | 84 ครัวเรือน | 121 คน | 137 คน | 258 คน |
หมู่ที่ 5 ชุมชนบ้านเนินทราย | 233 ครัวเรือน | 363 คน | 380 คน | 743 คน |
หมู่ที่ 6 ชุมชนบ้านโคกเศรษฐี | 124 ครัวเรือน | 203 คน | 211 คน | 414 คน |
หมู่ที่ 7 ชุมชนบ้านดอน | 147 ครัวเรือน | 250 คน | 285 คน | 535 คน |
หมู่ที่ 8 ชุมชนบ้านไร่ | 120 ครัวเรือน | 190 คน | 191 คน | 381 คน |
หมู่ที่ 9 ชุมชนบ้านนายาง | 120 ครัวเรือน | 174 คน | 206 คน | 380 คน |
ข้อมูลรวม | 13,338 ครัวเรือน | 18,202 คน | 19,420 คน | 37,622 คน |
ที่ตั้ง
เทศบาลตำบลนายาง ตั้งอยู่เลขที่ 444 หมู่ที่ 2 ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีพื้นที่อยู่ในเขตการปกครองประมาณ
188.88 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาใหญ่ , ตำบลดอนขุนห้วย , และตำบลนายาง มีทั้งหมด 27 หมู่บ้าน 28 ชุมชน
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองศาลา อำเภอชะอำ และอำเภอท่ายาง
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองชะอำ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตอำเภอท่ายาง
จำนวนประชากร
ประชากรตามสถิติทะเบียนราษฎร ณ 30 เดือนกันยายน 2559
มีจำนวนทั้งสิ้น 19.097 คน แบ่งเป็น ชาย 9,143 คน หญิง 9,740 คน
ความหนาแน่นของประชากร ประมาณ 99.97 คนต่อตารางกิโลเมตร
ลักษณะการใช้ที่ดิน
ตำบลเขาใหญ่
ตำบลเขาใหญ่ มีสภาพพื้นที่เป็นแอ่งกระทะบางส่วนเป็นที่ราบ บางส่วนเป็นที่ดอน
ตำบลดอนขุนห้วย
ตำบลดอนขุนห้วยมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบภูเขา
ตำบลนายาง
การใช้ที่ดินของตำบลนายาง ในที่ดอนจะเป็นที่อยู่อาศัย สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ และไม้ผลไม้ยืนต้น ที่ราบใช้ทำนา และไร่นาสวนผสม
ส่วนที่ลุ่มใช้ทำนาเพียงอย่างเดียว
เขตการปกครอง
เทศบาลตำบลนายาง มีเขตการปกครองทั้งหมด 3 ตำบล 27 หมู่บ้าน 28 ชุมชน ดังนี้
1. ตำบลเขาใหญ่ จำนวน 11 หมู่บ้าน 12 ชุมชน
2. ตำบลนายาง จำนวน 9 หมู่บ้าน 9 ชุมชน
3. ตำบลดอนขุนห้วย จำนวน 7 หมู่บ้าน 7 ชุมชน
พื้นที่
เทศบาลตำบลนายาง มีพื้นที่ ประมาณ 188.88 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองศาลา อำเภอชะอำ และอำเภอท่ายาง
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองชะอำ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตอำเภอท่ายาง
ด้านเศรษฐกิจ
ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนายาง ส่วนใหญ่มีฐานะปานกลาง ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นหลัก รองลงมาคือรับจ้าง การค้า และการบริการ
1. การเกษตรกรรม
2. การพาณิชยกรรม
2.1 สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม
- สถานีบริการน้ำมัน จำนวน 6 แห่ง
- ตลาดสด จำนวน 1 แห่ง
- ร้านค้าทั่วไป จำนวน 126 แห่ง
- สหกรณ์ (เครดิตยูเนี่ยน) จำนวน 2 แห่ง
- อื่น ๆ (บ้านเช่า อู่ซ่อมรถ ตัดผม เสริมสวย ต้นไม้ ของเก่า ร้านอาหาร) จำนวน 147 แห่ง
ที่มา : กองคลัง เทศบาลตำบลนายาง (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2557)
2.2 สถานประกอบการด้านบริการ
- โรงแรม จำนวน 4 แห่ง
ที่มา : กองคลัง เทศบาลตำบลนายาง (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2557)
2.3 การอุตสาหกรรม
- โรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตดำเนินการ จำนวน 38 แห่ง ประกอบด้วย
ตำบลเขาใหญ่ จำนวน 23 แห่ง
ตำบลนายาง จำนวน 7 แห่ง
ตำบลดอนขุนห้วย จำนวน 8 แห่ง
3. การท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่
- ถ้ำค้างคาวนายาง อยู่บริเวณหมู่ที่ 2 ต.นายาง
- ถ้ำเขาพระนาขวาง (ถ้ำพระนอน) มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ หมู่ที่ 2 ต.นายาง
- เจดีย์ทุ่งเศรษฐี หมู่ที่ 6 ต.นายาง
- ถ้ำเขาตาจีน หมู่ที่ 7 ต.นายาง
4. การปศุสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยหรือ ครัวเรือน แบ่งได้ดังนี้
5. การประมงและสัตว์น้ำ
ด้านสังคม
ชุมชน (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2556)
เทศบาลตำบลนายาง มีทั้งหมด 27 หมู่บ้าน 28 ชุมชน จำนวน 5,991 ครัวเรือน
1. ตำบลเขาใหญ่ จำนวน 11 หมู่บ้าน 12 ชุมชน
2. ตำบลนายาง จำนวน 9 หมู่บ้าน 9 ชุมชน
3. ตำบลดอนขุนห้วย จำนวน 7 หมู่บ้าน 7 ชุมชน
การศึกษา
- โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 10 โรงเรียน
- โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1 โรงเรียน
- วิทยาลัยระดับอาชีวศึกษา จำนวน 1 วิทยาลัย
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 10 ศูนย์
ศาสนา
ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลตำบลนายางนับถือศาสนาพุทธ
วัฒนธรรม
- ประเพณีที่สำคัญของเทศบาล ได้แก่
1. ประเพณีสงกรานต์ เดือนเมษายนของทุกปี มีกิจกรรมสรงน้ำพระ
รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ การขอพรผู้ใหญ่ การจัดขบวนแห่ของชุมชน
การก่อพระเจดีย์ทราย การละเล่นพื้นบ้าน และการแสดงมหรสพต่าง ๆ ฯลฯ
2. ประเพณีที่เกี่ยวกับวันสำคัญทางศาสนา มีกิจกรรมที่สำคัญ คือ การทำบุญ
ตักบาตร การเวียนเทียน การหล่อเทียนจำนำพรรษา ปลูกต้นไม้ เป็นต้น
การคมนาคม
การเดินทางส่วนใหญ่อาศัยรถยนต์ ทางเท้า ซึ่งการคมนาคมจะสะดวกสบาย สามารถเชื่อมต่อได้ ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน
โดยมีถนนเพชรเกษมเป็นถนนสายหลัก
การประปา
เทศบาลตำบลนายาง มีการประปา 2 ระบบ มีผู้ใช้น้ำทั้งสิ้น 3,535 ราย ดังนี้
1. การประปาของเทศบาลตำบลนายาง มีผู้ใช้น้ำ จำนวน 2,459 ราย
1.1 ตำบลเขาใหญ่ จำนวน 2,131 ราย
1.2 ตำบลนายาง จำนวน 133 ราย
1.3 ตำบลดอนขุนห้วย จำนวน 195 ราย
ที่มา : กองการประปา เทศบาลตำบลนายาง (ข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2557)
2. การประปาส่วนภูมิภาค โดยสำนักงานประปาเพชรบุรี มีผู้ใช้น้ำ จำนวน 1,076 ราย
2.1 ตำบลเขาใหญ่ จำนวน 288 ราย
2.2 ตำบลนายาง จำนวน 469 ราย
2.3 ตำบลดอนขุนห้วย จำนวน 323 ราย
ที่มา : การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเพชรบุรี (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2556)
ไฟฟ้า
ปัจจุบันการดำเนินการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนายาง
อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอชะอำ โดยประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขต
เทศบาลตำบลนายางมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน
การสื่อสาร
1. โทรศัพท์ ในเขตเทศบาลจะประกอบด้วย โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์สาธารณะ และโทรศัพท์เคลื่อนที่
2. ไปรษณีย์ เทศบาลไม่มีที่ทำการไปรษณีย์ จะใช้บริการจากที่ทำการไปรษณีย์อำเภอชะอำ
3. ระบบเสียงตามสายแบบไร้สาย/หอกระจายข่าว
การสาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 5 โรงพยาบาล
- อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน 294 คน
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- สถิติเพลิงไหม้ส่วนใหญ่เกิดจากเหตุเพลิงไหม้ทั่วไป เช่น ไหม้หญ้าในช่วงหน้าแล้ง
- อุปกรณ์ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประกอบด้วย
1. รถยนต์ดับเพลิง จำนวน 1 คัน แยกเป็น (ความจุน้ำ)
- จุน้ำได้ 5,000 ลิตร
2. รถบรรทุกน้ำ จำนวน 4 คัน แยกเป็น (ความจุน้ำ)
- จุน้ำได้ 10,000 ลิตร จำนวน 1 คัน
- จุน้ำได้ 12,000 ลิตร จำนวน 1 คัน
- จุน้ำได้ 5,000 ลิตร จำนวน 2 คัน
3. รถยนต์กู้ภัยเล็ก จำนวน 1 คัน
4. รถยนต์ตรวจการณ์ จำนวน 1 คัน
5. พนักงานดับเพลิง จำนวน 14 คน
- มีการจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต่าง ๆ
- การเตรียมพร้อมคอยเหตุ 24 ชั่วโมง
- มีอัตรากำลัง อปพร. ที่พร้อมจะช่วยเหลือการปฏิบัติงาน
ขยะ
1) รถยนต์ที่ใช้กำจัดขยะ รวม 4 คัน แยกเป็น
- แบบอัดท้าย จำนวน 3 คัน
- แบบเปิดข้างเทท้าย จำนวน 1 คัน
2) ขยะที่เก็บได้ ประมาณ 10 ตัน/วัน
3) ขยะที่กำจัดใช้ วิธีฝังกลบโดยใช้ร่วมกับสถานที่กำจัดขยะ โดยวิธีฝังกลบของเทศบาลเมืองชะอำ
ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
1. ภูมิอากาศ
- อากาศโดยทั่วไปไม่หนาวหรือร้อนจัด อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 28 องศาเซลเซียส
2. แหล่งน้ำ
- อ่างเก็บน้ำ ได้แก่
1.อ่างเก็บน้ำโป่งทะลุ หมู่ 5 ต.ดอนขุนห้วย ความจุ 0.81 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ 2,600 ไร่
2.อ่างเก็บน้ำหุบกะพง หมู่ 10 ต.เขาใหญ่ ความจุ 0.26 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ 3,500 ไร่
3.อ่างเก็บน้ำห้วยทราย-หุบกะพง หมู่ 10 ต.เขาใหญ่ ความจุ 0.7 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ 1,000 ไร่
4.อ่างเก็บน้ำอ่างแก้ว หมู่ 8 ต.เขาใหญ่
- ฝายทดน้ำ จำนวน 1 แห่ง คือฝายทดน้ำดอนขุนห้วย หมู่ 5 ต.ดอนขุนห้วย ความจุ 0.25 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ 1,000 ไร่